หลักการและผลิตภัณฑ์ โครงการกระเทียมปลอดภัยจากสารพิษ

garlic-139659_960_720

หลักการและผลิตภัณฑ์ โครงการกระเทียมปลอดภัยจากสารพิษ

โครงการนี้ริเริ่มโดย นายวีรเวช ศุภวัฒน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท กุ๊บไต จำกัด ซึ่งมีนโยบายในการขยายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรแปรรูปให้กับบริษัท เพื่อจัดจำหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศ ในรูปของสินค้าเกษตรแปรรูป โดยเริ่มจากผลิตภัณฑ์กระเทียมปลอดภัยจากสารพิษ และ/หรือ กระเทียมอินทรีย์ จากจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นจังหวัดที่ผลิตกระเทียมคุณภาพสูง ภายใต้สภาพสิ่งแวดล้อมที่บริสุทธิ์ทั้งอากาศ ดิน และน้ำ ซึ่งกระเทียมแม่ฮ่องสอน มักถูกใช้เป็นกระเทียมพันธุ์ของจังหวัดใกล้เคียงในภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย และลำพูนเป็นต้น โดยทางบริษัทฯ จะจัดตั้งโรงงานแปรรูปขนาดเล็กใน อ.เมือง จังหวัด แม่ฮ่องสอน และส่งผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมาจำหน่ายในเขตกรุงเทพมหานคร และส่งออกสู่ตลาดโลก อีกทั้งเป็นการรองรับ AEC ในปี 2558 อีกนัยหนึ่งด้วย

การดำเนินการนี้ เป็นความร่วมมือกับท้องถิ่น โดยการรวบรวมกลุ่มเกษตรกรที่สนใจ เข้าร่วมในโครงการ ให้ความรู้เกษตรกร จากสำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมให้การตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์จากกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต แนะนำเทคนิคทางการเกษตรในแนวทาง GAP (Good Agricultural Practice) เพื่อให้เกษตรกรเกิดความมั่นใจในการผลิต และสามารถได้รับรองมาตรฐาน “ Q “ อีกทางหนึ่ง ทางบริษัทฯ จะเข้ารับรองการซื้อผลิตผลตามที่ได้ลงทะเบียนไว้ในราคาที่สูงกว่าราคากระเทียมที่ปลูกแบบใช้ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมี อันเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับเกษตรกรอีกนัยหนึ่ง

ผลิตภัณฑ์ที่จะแปรรูปออกมากระเทียมปลอดภัยจากสารพิษได้แก่

  • 1. กระเทียมเจียว พร้อมกากหมู เพื่อใช้กับก๋วยเตี๋ยว ในการปรุงรส
  • 2. น้ำมันกระเทียมเจียว พร้อมกากกระเทียมไม่มีเปลือก เพื่อใช้กับอาหารไทย หลากชนิด เช่น ข้าวเกรียบปากหม้อ สาคูไส้หมู เป็นต้น
  • 3. กระเทียวเจียวแห้ง พร้อมเปลือกอ่อน เพื่อใช้ในการโรยบนอาหารหลากชนิด เช่น ผัดผัก แกงจืด เป็นต้น
  • 4. กระเทียมเจียวแห้ง แกะเปลือกสับละเอียด เพื่อใช้โรยหน้าขนมปังกระเทียม หรือ ขนมจีบ เป็นต้น
  • 5. กระเทียมสด ปอกเปลือก และทำการ Vacuum Pack แช่เย็นในอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เพื่อจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ หรือ ซูเปอร์มาร์เก็ต ให้กับผู้บริโภคนำไปใช้ได้ทันที
  • 6. กระเทียมสด แกะกลีบ พร้อมนำไปแปรรูป

ระยะเวลาดำเนินการ

 

– การเพาะปลูก
  • 1. เดือนกรกฎาคม 2556 สำนักงานเกษตรจังหวัด นำโดย เกษตรอำเภอ และหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนา ได้เริ่มประชาสัมพันธ์โครงการให้กับกำนันผู้ใหญ่บ้านในตำบลต่างๆ เขตอำเภอเมือง โดยกำหนดพื้นที่เพาะปลูก ประมาณ 50 ไร่ เป็นพื้นที่เป้าหมาย และต้องการกระจายในหลายตำบล เพื่อข้อมูลเปรียบเทียบ โดยเน้นบริเวณที่มีแหล่งน้ำดี เกษตรกรมีความตั้งใจที่จะพัฒนามาทางด้านเกษตรอินทรีย์
  • 2. เดือน กันยายน 2556 ประชุมประเมินผล ได้รับการตอบรับที่ดี รวมถึงความร่วมมือของกำนัน นายก อบต. ในการรวบรวมเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ
  • 3. เดือนตุลาคม 2556 มีการลงนามในบันทึกข้อตกระหว่างเกษตรกร และนายวีรเวช เพื่อดำเนินการในการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน โดยกำหนดระยะเวลาและการดำเนินงานตามรายละเอียดในตารางการดำเนินงาน
  • 4. กำหนดการปลูกประมาณ ปลายเดือน พฤศจิกายน 2556 และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต ได้ในปลายเดือน มีนาคม 2557 ถึง ต้นเดือนเมษายน 2557 ถือเป็นอันสิ้นสุดโครงการของปีเพาะปลูก 2556
  • 5. จากนั้นจะมีการประชุมประเมินผลในเดือนเมษายน 2557 เพื่อรับทราบข้อมูล ในปรับปรุงงานสำหรับปีเพาะปลูกต่อไป

 

– การแปรรูป และการดำเนินการผลิต
  • 1. เดือน สิงหาคม 2556 ดำเนินการติดต่อ ผู้อำนวยการทางสถาบันค้นคว้าและผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรสาสตร์ ผอ.พัชรี ตั้งตระกูล โดยทีมงานอาจารย์จะดำเนินการออกแบบวิธีการทำงาน ประเมินค่าใช้จ่ายในการ วิเคราะห์ เสนอวิธีการทดลอง ทดสอบ ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ นายวีรเวช ได้รับทราบ และนำเสนอให้กับทางบริษัทฯ ในการตัดสินใจดำเนินการต่อไป
  • 2. เดือน กันยายน 2556 นายวีรเวช จะนำเสนอโครงการนี้ กับทางเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมถึงสำนักงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อขออนุมัติเงินทุนสนับสนุนจากทางจังหวัด และหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนนำเสนอกับทางบริษัทฯ เพื่อมีส่วนร่วมในการสนับสนุนอีกแรงหนึ่ง
  • 3. เดือน ตุลาคม – 30 พฤศจิกายน 2556 ทางสถาบันดำเนินการทดลอง วิเคราะห์ วิจัย เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ ทั้ง 5 ชนิดข้างต้น ที่มีสูตรการผลิตที่สมบูรณ์ พร้อมในการผลิต เป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม ใน อ.เมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อมุ่งหวังการรับรอง ทาง GMP (Good Manufacturing Practice) อีกทั้ง หน่วยงาน อาหารและยา (อย.) ของประเทศไทยอีกด้วย
  • 4. เดือน มีนาคม 2557 ทำการสร้างโรงงานแปรรูปอาหาร และจัดซื้อ วัสดุอุปกรณ์ เพื่อการผลิต อีกทั้งทำการตลาด เพื่อหาช่องทางการขาย พร้อมรับข้อมูลตลาดมาเพื่อปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดให้มากที่สุด
  • 5. เดือน มีนาคม – เมษายน 2557 ซื้อผลิตภัณฑ์กระเทียมสดจากเกษตรกร เพื่อการผลิตตลอดปี 2557 ไปจนถึงระยะผลิตในปีต่อไป
  • 6. เดือน พฤษภาคม 2557 ทดลองการผลิตใน Scale เล็ก เพื่อปรับปรุงการผลิตให้เป็นไปได้ในระดับอุตสาหกรรมขนาดย่อม ตามหลักวิชาการและประหยัดต้นทุนการผลิต เป็นแนวทางหลัก
  • 7. เดือน มิถุนายน 2557 ผลิตเพื่อจำหน่ายและจัดจำหน่ายสู่ตลาดกรุงเทพ และจังหวัดใกล้เคียง
  • 8. เดือน กรกฎาคม 2557 เป็นต้นไป ปรับปรุงการผลิต อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการทางการตลาด โดยร่วมมือกับทางสถาบันฯ อย่างใกล้ชิด ต่อไป
Message us